ขณะนี้คุณอยู่ที่ > หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์ > ข่าวกิจกรรม

เดือนหน้านี้ก็จะเข้าสู่ประเพณีที่สำคัญของชาวเชียงใหม่อีกหนึ่งประเพณีนะครับ นั่นก็คือ “ประเพณีทำบุญและสืบชะตาเมืองเชียงใหม่”


21 พฤษภาคม 2566 383

ประเพณีทำบุญและสืบชะตาเมืองเชียงใหม่เป็นพิธีที่กระทำสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต โดยพิธีจัดขึ้นหลังออกประเพณีอินทขิลแล้วระยะหนึ่งแต่ก็ยังคงอยู่ในช่วงครึ่งแรกของเดือน 9 เหนือ ประเพณีมีขึ้นด้วยมีความเชื่อว่าเมืองเชียงใหม่สร้างชื้นตามหลักโหราศาสตร์ และการเลือกชัยภูมิตลอดจนมหาทักษา เพื่อให้ได้ชัยภูมิ เวลา และฤกษ์ที่เป็นมงคลอันจะบันดาลให้เมืองเจริญรุ่งเรืองสืบไป อย่างไรก็ตาม เมื่อวันเวลาผ่านไปย่อมมีบางช่วงที่ดวงเมืองเบี่ยงเบนตามลัคนา การทำบุญสืบชะตาเมืองจะช่วยให้เคราะห์ร้ายลดลงและสถานการณ์ต่างๆ กลับดีขึ้นไป อีกทั้งยังเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตจะช่วยสืบอายุให้ยืนยาวต่อไป

พิธีทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ จะจัดพิธีในตัวเมืองทั้งหมด 10 แห่ง คือ ที่กลางเวียงอันเคยเป็นสะดือเมือง ประตูทั้ง 5 ประตู และแจ่งเวียง (มุมเมือง) ทั้ง 4 แจ่ง เมื่อมีพระบรมราชานุสรณ์สามกษัตริย์มาประดิษฐานที่หน้าศาลากลางเก่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 การทำพิธีสืบชะตา ณ กลางเวียงก็กระทำที่บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ โดยมีพระสงฆ์ 9 รูป ที่เหลืออีก 9 แห่งมีพระสงฆ์แห่งละ 11 รูป รวมทั้งสิ้นเป็น 108 รูป เท่ากับจำนวน 108 มงคลในลัทธิพราหมณ์ และเท่ากับพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ รวม 108 ประการ เช่นกัน พิธีสืบชะตาเมืองซึ่งเริ่มทำตั้งแต่ พ.ศ. 2511 นั้นจะกระทำขึ้นพร้อมๆ กันทุกจุดในเวลา 09.00  น.

จากพิธีทำบุญและสืบชะตาเมือง ทำให้เห็นว่า แนวความเชื่อเรื่องผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองมีความเข้มแข็งอยู่มาก เชื่อว่าผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะสิงสู่อยู่ทุกหนทุกแห่ง คอยดูแลปกป้องผู้คนให้อยู่กันอย่างปกติสุข ผีที่ใหญ่ที่สุด คือ เสื้อเมือง หรืออารักษ์เมือง หรือที่บางคนเรียกว่าผีเจ้านาย เป็นผีที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากที่สุด คนเมืองเชื่อว่า ผีเจ้านายมาจากผู้ปกครององค์สำคัญที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว เช่น พระยามังรายปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย เป็นต้น บรรพบุรุษเหล่านี้ทำหน้าที่คุ้มครองบ้านเมือง ดูแลความสงบสุข และปกปักรักษาทุกๆ อย่างในเมือง ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์เลี้ยง ไร่นา ป่าเขา หรือลำน้ำ ผีเจ้านายองค์สูงสุดของเชียงใหม่ คือ เจ้าหลวงคำแดง ซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ดอยเชียงดาว แต่เวลาเซ่นหรือเลี้ยงจะทำกันที่หอตรงแจ่งศรีภูมิ หรือมุมกำแพงเมืองเชียงใหม่ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาพถ่ายโดยช่างภาพ บุญเสริม สาตราภัย
อ้างอิง : มณี พยอมยงค์. (2533). ประเพณีสิบสองเดือน ล้านนาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.

: ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่
สงวน โชติรัตน์. (2516). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. พระนคร: คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์สำนักนายกรัฐมนตรี.

Gallery

  • Share this post!
แนะนำเทศบาล   + ข้อมูลทั่วไป   + บุคลากร   + หน่วยงานภายใน
เอกสาร/รายงาน   - แผนพัฒนาท้องถิ่น   - เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี   - รายงานการติดตามประเมินผล   - แผนพัฒนาการศึกษา   + งานกิจการสภาเทศบาลนครเชียงใหม่   - รายงานสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพของ อปท. (LPA)   - การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ(ITA)   - รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลฯและประชาคมท้องถิ่น   + รายงาน/เอกสารดาวน์โหลดอื่นๆ   + การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ (ITA) 2023
ประกาศต่างๆ   + ประกาศราคากลาง   + ข่าวประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding)   + ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา   + ประกาศสมัครงาน/รับโอน   - มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริต   + ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งเทศบาลนครเชียงใหม่   - TIA จัดซื้อจัดจ้าง
ข้อมูลบริการ   - ถามตอบ   - ติดต่อเรา   + ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง   + ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนเทศบาลนครเชียงใหม่   + กองการเจ้าหน้าที่   - ประกาศความเสี่ยงด้านทุจริต   - รวบรวมผลงานที่ผ่านมา   - รายงานผลข้อร้องเรียน   + ฐานข้อมูลตลาด   - คู่มือประชาชน   - คู่มือปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่   - E-Service   - แบบฟอร์ม Download (สำหรับประชาชน)   - คลองแม่ข่า
สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ๑ ถนนวังสิงห์คำอ.เมือง จ.เชียงใหม่
053-259000

©Copyrights. All rights reserved. ©สงวนลิขสิทธิ์เทศบาลนครเชียงใหม่